เศรษฐกิจพอเพียง

แนะนำโครงการเศรษฐกิจพอเพียง และความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ‎จุดเริ่มต้นแนวคิด - ‎พระราชดำริ - ‎พระราชดำรัส - ‎แปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ของ มูลนิธิชัยพัฒนา เศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข, เศรษฐกิจ พอ เพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข, เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง, เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง, ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, สรุปเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง คือ, เศรษฐกิจพอเพียงคือ

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช.

ข้อ 1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
ข้อ 3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
ข้อ 4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
ข้อ 5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
ข้อ 6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
ข้อ 7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
ข้อ 8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
ข้อ 9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ข้อ 10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ข้อ 11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
ข้อ 12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง



คำค้นหาค่านิยมหลัก 12 ประการ, ความหมายค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ตามนโยบายของ คสช, ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ความหมาย, เรียงความค่านิยม 12 ประการ, เพลงค่านิยม 12 ประการ, มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, ค่านิยมหลัก 12 ประการของคนไทย, ค่านิยมหลัก 12 ประการ ภาษาอังกฤษ, ป้ายค่านิยม 12 ประการ คสช, ค่านิยม 12 ประการ pdf, ค่านิยม 12 ประการ ข้อ 2, ค่านิยม 12 ประการ กศน, รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ การ์ตูน, อาขยานค่านิยม 12 ประการ

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการทำงาน



การทำงานในสภาพปัจจุบันต้องแข่งขันกันทั้งด้านคุณภาพและเวลา การทำงานจริงจึงไม่มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกในการทำงาน  เพราะกำไรจึงเป็นของผู้ลงมือก่อน เราจึงต้องเปลี่ยนแปลง ต้องจัดสรรเวลาให้รวดเร็ว ในวันหนึ่ง ๆ เราใช้เวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง นอนหลับ 8 ชั่วโมง อื่น ๆ 8 ชั่วโมง ในเวลา 1 วัน มี 24 ชั่วโมง หากทบทวนดู เราใช้เวลาให้มีคุณภาพในแต่ละวินาทีอย่างไร หายใจทิ้ง คอรับชั่นเวลาไปเท่าไร เราเคยคิดหรือไม่ว่า เราทำงาน เราทุ่มเทให้หน่วยงานองค์กรเท่าไร เราขโมยเวลาในการทำงานให้หน่วยงานไปเท่าไรหรือเราคิดวนเวียนว่า เราจบจากไหน ได้เงินเดือนเท่าไร มีตำแหน่งบริหารหรือไม่ ได้สองขั้นหรือไม่  ใครได้ดีเกินเรา แล้วก็มัวแต่นั่งหายใจทิ้งไปเฉย ๆ โดยไม่ลงมือทำอะไรเลย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานหลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้เป็นวิถีชีวิตที่สามารถใช้ได้กับทุกคน ทุกอาชีพ เพื่อให้ดำรงตนและปฏิบัติตนให้สมดุล ทั้งชีวิตส่วนตัว ครอบครัว การทำงาน ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง ด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม  หลักเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เศรษฐกิจ แต่เป็นการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  เช่น เป็นผู้บริหารที่พอเพียง  การพูด  การคิดต้องพอเพียง อย่าให้ความคิดกระจาย   ซึ่งเราสามารถนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำงานได้ง่าย ๆ ดังนี้
ความพอประมาณ ได้แก่ เรียบง่าย ประหยัด  การทำอะไรที่พอเหมาะพอควร สมดุลกับอัตภาพ ศักยภาพของตนและสภาวะแวดล้อม  ตามความสามารถของแต่ละคน พอประมาณกับภูมิสังคม สิ่งแวดล้อม สถานการณ์ การทำงานทุกอย่างต้องเรียบง่าย ประหยัด อย่าทำงานให้ยุ่ง ทำให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีกำหนดการทำงานตามลำดับขั้นตอน  และมีการปฏิบัติชัดเจน เช่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ต้องรู้ว่านักศึกษาต้องการอะไร ผู้ใช้บัณฑิตต้องการอะไร   เพราะทุกกิจกรรม ทุกงานที่ทำมีต้นทุน อย่าทำงานทิ้งๆ ขว้าง ๆ การทำงานต้องมีประโยชน์  มีผลผลิตที่เกิดขึ้น
ความมีเหตุผล คือ การคิด ฟัง ปฏิบัติ  การทำงานต้องใช้หลักความรู้ในการทำงาน วางแผนงานต้องระมัดระวัง ต้องใช้หลักวิชาการช่วยสนับสนุน อย่าใช้ความรู้สึกและอารมณ์ในการทำงาน   ทุกคนมีศักยภาพในการทำงาน การพัฒนาตัวเองต้องเกิดขึ้นจากภายในตัวเองของแต่ละคน จึงต้องแสดงศักยภาพออกมาให้ได้
มีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องมีแผนกลยุทธ์ เช่น เป็นอาจารย์ต้องมีแผนการสอน องค์กรต้องมีแผนกลยุทธ์ เป็นต้น การทำงานต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องมองภาพรวม ทุกคนมีส่วนร่วม คือการประสานงาน และการบูรณาการปรับวิธีการทำงาน หน่วยงานองค์กรต้องมีธรรมาภิบาลเพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้นกันภายในตัว
ชีวิตที่พอเพียงในการทำงานการศึกษา  จึงต้องยึดความพอเพียง ประกอบด้วย ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเรียนรู้ มีกระบวนการพัฒนาที่ยึดคุณธรรม ความเพียร ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์สุจริตให้เข้าสู่จิตใต้สำนึกของผู้เรียน  บุคลากร และต้องมีธรรมาภิบาลในองค์กร   การทำงานกับมนุษย์ต้องใช้หลักการ หลักวิชาการให้สอดคล้องกับภูมิสังคม คือภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อม  ต้องปรับกระบวนการทำงานจากบนลงล่าง เป็นล่างขึ้นบน เป็นผู้เป็นหุ้นส่วนระหว่างผู้สอน ผู้เรียนและสาระการเรียนรู้ โดยมีเป้าหมายของการศึกษาคือ คุณภาพชีวิตและสังคม เพื่อลดความยากจน เป็นเครื่องมือดูแลสุขภาพ เป็นเครื่องมือพัฒนาประชาธิปไตย และเป็นเครื่องมือสำหรับ
ธรรมาภิบาลหรือความโปร่งใสของสังคม
การเป็นผู้นำยุคใหม่นี้ ต้องมีความสามารถในการชี้นำ การสื่อสาร และสร้างการเรียนรู้เพื่อลดช่องว่างระหว่างผู้นำผู้ตาม รวมทั้งสามารถทำให้ผู้ร่วมงานสามารถตามทันวิสัยทัศน์ผู้นำได้ การบริหารจัดการจึงต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานในองค์กรเพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ไปสู่ความสำเร็จคือคุณภาพตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย องค์กรจึงต้องวางระบบให้กิจกรรมต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

คำค้นหาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข, เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง, เศรษฐกิจ-พอ-เพียง หมาย-ถึง, ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง, ความ-หมาย-ของ-เศรษฐกิจ-พอ-เพียง, สรุปเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจ พอ เพียง คือ, ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง, เศรษฐกิจพอเพียง, เกษตรทฤษฎีใหม่, 3ห่วง2เงื่อนไข, ค่านิยม 12 ประการ, โครงการพระราชดําริ, เศรษฐกิจพอเพียง คือ, แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, ความ พอ เพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

 

เกี่ยวกับเรา เศรษฐกิจพอเพียง

เวปไซต์นี้เป็นเวปไซต์เผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจพอเพียง ทางทีมงานพยายามรวบรวมสาระน่ารู้ น่าสนใจ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงในหลายๆด้านมาร่วมไว้ให้กับท่านได้อ่านศึกษาหาข้อมูลกัน ทางทีมงานยินดีรับข้อเสนอแนะจากผู้อ่านทุกท่าน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเวปไซต์นี้ให้เหมาะสมและเป็นที่น่าสนใจยิ่งๆขึ้นต่อไป

วาดรูปเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง

ติดตามแฟนเพจ